by www.zalim-code.com

วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2556


ครั้งที่ 9
วันพุธที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2556
Wednesday 7 August 2013

       ได้เข้าร่วมกิจกรรมของอาจารย์ณุตา พงษ์สุผล ชื่อโครงการว่า "โครงการกายงาม ใจดี ศรีปฐมวัย"
ซึ่งในงานมีกิจกรรมมากมาย เช่น มีการแสดงรำศรีวิชัย และเซิ้งของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 มีการแสดงร้องเพลง เต้น ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มีการสอนเรื่องมารยาทไทยทั้งการไหว้ การนั่ง การยืน การส่งของ
การรับของ และมีการประกวดในส่ิงที่ได้สอน  อาจรย์ณุตาก็ได้เล่าถึงมารยาทที่ควรปฏิบัติ การแต่งกาย ส่ิงควรทำและสิ่งไหนที่ไม่ควรทำ ซึ่งส่ิงอาจารย์กล่าวมาเราในฐานะที่เป็นลูกศิษย์ควรน้อมรับและต้องปฏิบัติตาม และได้มีการให้ดาวให้สำหรับผู้ที่เข้าร่วมงานเพ่ือเป็นคะแนนในแต่ละวิชานั้นๆ

วันเสาร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 8
วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
Wednesday 31 July 2013







 ****ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากมีการสอบกลางภาค****
ครั้งที่ 7
วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
Wednesday 24 July 2013

สรุปจากแผนผังความคิด (กระบวนการวิทยาศาสตร์)

 
1.  กระบวนการเบื้องต้น
     -  การวัด                
     -  การจำแนก          
     -  หาความสัมพันธ์      
     -  การคำนวน            
     -  การพยากรณ์   
     
2.  กระบวนการผสม
     -  ตั้งสมมติฐาน 

 
3.  วิธีการจัด
     - จัดเป็นทางการ    
     - จัดไม่เป็นทางการ   
     - จัดตามเหตุการณ์
         
 4.   วิธีการเลือกใช้สื่อ
     -  การเลือก 
     - เตรียมอุปกรณ์และทดลองใช้
       
เทคนิคการคิดวิคราะห์
- What
- Where  
- When 
- Why
- Who
- How
อาจารย์ได้เปิดการเรียนแบบบูรณาการจาก Power Point โดยได้เปิดการสอนแบบโครงงานมาจากโรงเรียนเกษมพิทยาจากการที่ได้ดูโทรทัศน์ครู สิ่งที่ได้รับคือ  การเรียนเเบบโครงการ <Project Approach>


ขั้นตอนในการเรียนเเบบโครงการมี 5 ขั้นตอน
 
1.อภิปราย
2.นำเสนอประสบการณ์เดิม
3.ทำงานภาคสนาม
4.สืบค้น
5.จัดเเสดง
 

ครั้งที่ 6
วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
Wednesday 17 July 2013


การทดลองวิทยาศาสตร์

                                      ดังกว่าได้อย่างไร 

วัสดุอุปกรณ์
1.
ลูกโป่ง
2.
เศษกระดาษ
3.
ไม้บรรทัด
4.
ยางรั

วิธีการทดลอง
1.
เป่าลูกโป่งให้พองเต็มที่ แล้ววัดความกว้างของลูกโป่งนี้ว่าเป็นเท่าไร
2.
ให้เพื่อนถือเศษกระดาษให้อยู่ระดับหูห่างจากหูเท่ากับความกว้าง ลูกโป่ง แล้วใช้นิ้วมือเคาะเบาๆที่กระดาษ สังเกตว่าได้ยินเสียงหรือไม่ อย่างไร
3.
จับลูกโป่งในข้อ 1 แนบหู ให้เพื่อน สอดเศษกระดาษเข้าไประหว่าง ลูกโป่งและมือที่จับ แล้วใช้นิ้ว เคาะเบาๆที่กระดาษเปรียบเทียบ ความดังที่ได้ยิน

ผลการทดลอง

เมื่อเคาะเบาๆที่กระดาษที่แนบติดกับลูกโป่งจะได้ยินเสียงดังชัดเจน กว่าเมื่อเคาะโดยไม่มีลูกโป่งกั้น ที่เป็นดังนี้เพราะอากาศภายในลูกโป่งมี มากและถูกอัดให้อยู่ภายในลูกโป่ง ดังนั้นอนุภาค (โมเลกุล) ของอากาศจะ อยู่ใกล้ชิดกันมากกว่าอนุภาคของอากาศภายนอก อากาศที่มีอนุภาคใกล้ชิด กันมากจะเป็นตัวกลางที่ดีในการให้เสียงเคลื่อนที่ผ่าน
 



 
 
 
 
 
 

ของเล่นวิทยาศาสตร์

                               นกบินได้

อุปกรณ์
1.ไม้ไผ่
2.เบล็ดตกปลา
3.ดินเหนียว
4.เข็ม
5.สก๊อตเทป


วิธีทำ
1.เหลาไม้ไผ่ให้ได้ขนาดตามที่ต้องการและใช้สก้อตเทปสีพันไม้ตกแต่งให้สวยงาม
2.ง้อไม้ไผ่และใช้เบล็ดตกปลาผูกปลายบนไม้ไผ่ และปั้นดินเหนียวเป็นรูปนก และใช้เข็มเจาะบนหัวของนก
3.ใช้เบล็ดที่เหลือสอดนกเข้าไปและผูกกับปลายไม้ไผ่

  วิธีการเล่นคือ ดึงนกให้สุดปลาบน และตีหางนก นกก็จะบินเอง
 
 




มุมวิทยาศาสตร์

 
แว่นขยาย
 
 
อุปกรณ์
1.ขวดน้ำ 6 ลิตร
2.ถุงพลาสติก
3.คัตเตอร์
4.สก็อตเทป
5.ปากกาเมจิ
6.ลูกแก้ว
7.โบว์

วิธีทำ
1.ตัดปากขวดและตรงกลางของขวดน้ำ
2.ใช้สก็อตเทปติดขอบที่ตัดเพ่ือความสวยงามและปลอดภัย
3.นำถุงพลาสติกใส่ลงในขวด   ใช้โบว์ผูกมัดรอบปากขวดให้สวยงาม
4.ใส่ลุกแก้วลงไปในช่องใต้ล่าง
5.ใส่น้ำลงไปในถุงพลาสติก


    วิธีการ คือ มองจากข้างบนขวดน้ำ มองผ่านน้ำจะเห็นลูกแก้วที่อยู่ใต้ล่างขยายใหญ่ขึ้น






 




 



















 


ครั้งที่ 5
วันพุธ 10 กรกฎาคม พ.ศ.2556
Wednesday 9 July 2013
อาจารย์ได้ให้ออกมารายงานของเล่นวิทยาศาสตร์ที่หามาโดยต้องรายงานทุกคน บางคนก็หาไม่ใช่ของเล่น แต่เป็นการทดลอง หรือไม่ก็เป็นมุมวิทยาศาสตร์ ซึ่งของฉันได้ออกมารายงานของเล่นวิทยาศาสตร์คือ
ครั้งที่  4
วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
Wednesday 3 July 2013

อาจารย์ได้สอนเรื่อง น้ำ โดยได้เปิด Power Point ให้นักศึกษาได้ได้ดู และได้ให้บันทึกเรื่องของน้ำลงใส่
 กระดาษและนำส่งอาจารย์


น้ำ เป็นสารประกอบเคมีชนิดหนึ่ง มีสูตรเคมีคือ H2O โมเลกุลของน้ำประกอบด้วยออกซิเจน 1 อะตอมและไฮโดรเจน 2 อะตอมเชื่อมติดกันด้วยพันธะโควาเลนต์ น้ำเป็นของเหลวที่อุณหภูมิและความดันมาตรฐาน แต่พบบนโลกที่สถานะของแข็ง (น้ำแข็ง) และสถานะแก๊ส (ไอน้ำ) น้ำยังมีในสถานะของผลึกของเหลวที่บริเวณพื้นผิวที่ชอบน้ำ
น้ำปกคลุม 71% บนพื้นผิวโลก และเป็นปัจจัยสำคัญต่อชีวิต  น้ำบนโลก 96.5% พบในมหาสมุทร 1.7% ในน้ำใต้ดิน 1.7% ในธารน้ำแข็งและชั้นน้ำแข็งของทวีปแอนตาร์กติกาและเกาะกรีนแลนด์ ซึ่งเป็นเศษส่วนเล็กน้อยบนผิวน้ำขนาดใหญ่ และ 0.001% พบในอากาศเป็นไอน้ำ ก้อนเมฆ (ก่อตัวขึ้นจากอนุภาคน้ำในสถานะของแข็งและของเหลวแขวนลอยอยู่บนอากาศ) และหยาดน้ำฟ้า  น้ำบนโลกเพียง 2.5% เป็นน้ำจืด และ 98.8% ของน้ำจำนวนนั้นพบในน้ำแข็งและน้ำใต้ดิน น้ำจืดน้อยกว่า 0.3% พบในแม่น้ำ ทะเลสาบ และชั้นบรรยากาศ และน้ำจืดบนโลกในปริมาณที่เล็กลงไปอีก (0.003%) พบในร่างกายของสิ่งมีชีวิตและผลิตภัณฑ์
น้ำบนโลกเคลื่อนที่ต่อเนื่องตามวัฏจักรของการระเหยเป็นไอและการคายน้ำ (การคายระเหย) การควบแน่น การตกตะกอน และการไหลผ่าน โดยปกติจะไปถึงทะเล การระเหยและการคายน้ำนำมาซึ่งการตกตะกอนลงสู่พื้นดิน
น้ำดื่มสะอาดเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ แม้ว่าน้ำจะไม่มีแคลอรีหรือสารอาหารที่เป็นสารประกอบอินทรีย์ใดๆ การเข้าถึงน้ำดื่มสะอาดได้เปลี่ยนแปลงไปในช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านมาในเกือบทุกส่วนของโลก แต่ประชากรประมาณ 1 พันล้านคนยังคงขาดแคลนน้ำดื่มสะอาดและกว่า 2.5 พันล้านคนขาดแคลนสุขอนามัยที่เพียงพอ มีความเกี่ยวพันกันเรื่องน้ำสะอาดและค่า GDP ต่อคน  อย่างไรก็ดี นักสังเกตบางคนประมาณไว้ว่าภายในปี ค.ศ. 2025 ประชากรโลกมากกว่าครึ่งหนึ่งจะประสบปัญหาความเสี่ยงที่เกี่ยวกับ รายงานล่าสุดเมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2009 รายงานว่า ภายในปี ค.ศ. 2030 ในพื้นที่ประเทศที่กำลังพัฒนาจะมีความต้องการน้ำจะเพิ่มขึ้นเกิดปริมาณน้ำที่มีกว่า 50% น้ำมีบทบาทสำคัญในเศรษฐกิจโลก เนื่องจากน้ำเป็นตัวทำละลายของสารเคมีหลากหลายชนิดและอำนวยความสะดวกในเรื่องการให้ความเย็นในภาคอุตสาหกรรมและการคมนาคม น้ำจืดประมาณ 70% มนุษย์ใช้ไปกับเกษตรกรรม[11]

การตกกระแทกของหยดน้ำ

คุณสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์
น้ำเป็นสารเคมีชนิดหนึ่งที่เขียนสูตรเคมีได้ว่า H2O: น้ำ 1 โมเลกุลประกอบด้วยไฮโดรเจน 2 อะตอม สร้างพันธะโควาเลนต์รอบออกซิเจน 1 อะตอม
ในธรรมชาติ น้ำปรากฏในทุกสถานะของสสาร (ของแข็ง ของเหลว และแก๊ส) และอาจพบในรูปร่างที่แตกต่างกันมากมายบนโลก นั่นคือไอน้ำและก้อนเมฆบนท้องฟ้า น้ำทะเลในมหาสมุทร ภูเขาน้ำแข็งในแหล่งน้ำขั้วโลก ธารน้ำแข็งและแม่น้ำในภูเขา และของเหลวในชั้นหินอุ้มน้ำของพื้นดิน
คุณสมบัติหลักทางเคมีและฟิสิกส์ของน้ำ ได้แก่
  • น้ำเป็นของเหลวที่อุณหภูมิและความดันมาตรฐาน ไม่มีรสชาติและไม่มีกลิ่น โดยเนื้อแท้แล้ว สีของน้ำและน้ำแข็งเป็นโทนสีฟ้าอ่อน แม้ว่าจะปรากฏเป็นไม่มีสีหากมีปริมาณเล็กน้อย ส่วนไอน้ำโดยปกติจะเป็นแก๊สซึ่งมองไม่เห็น
  • หากมองจากสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า น้ำเป็นของเหลวโปร่งใส ดังนั้น ดังนั้นพืชน้ำจึงสามารถอยู่ในน้ำได้เพราะมีแสงอาทิตย์ส่องอย่างทั่วถึง มีพันธะไฮโดรเจนดูดกลืนแสงอินฟราเรดอย่างแข็งแรง
  • เนื่องจากโมเลกุลของน้ำไม่เป็นเส้นตรงและอะตอมออกซิเจนมีอิเล็กโทรเนกาติวิตีสูงกว่าไฮโดรเจน มันจึงเก็บประจุไฟฟ้าลบไว้ ขณะที่อะตอมไฮโดรเจนค่อนข้างเป็นบวก ผลคือ น้ำเป็นโมเลกุลมีขั้วที่เป็นโมเมนต์ไฟฟ้าขั้วคู่ น้ำสามารถก่อรูปร่างเป็นพันธะไฮโดรเจนจำนวนมากระหว่างโมเลกุลในน้ำปริมาณหนึ่งๆ ปัจจัยเหล่านี้ก่อให้เกิดแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลของน้ำและทำให้น้ำมีแรงตึงผิว[13]และแรงยกตัวสูง แรงยกตัวหมายถึงแนวโน้มของน้ำที่จะเคลื่อนที่ขึ้นตามท่อแคบๆ ต้านแรงโน้มถ่วง คุณสมบัตินี้พบได้ในพืชมีท่อลำเลียงทุกชนิด เช่น ไม้ยืนต้นต่างๆ
  • น้ำเป็นตัวทำละลายมีขั้วที่ดีและมักถูกเรียกว่าเป็นตัวทำละลายสากล สสารที่ละลายในน้ำได้ เช่น เกลือ น้ำตาล กรด อัลคาไล และแก๊สบางชนิด โดยเฉพาะออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ (คาร์บอเนชัน) เป็นที่รู้จักกันว่าสสาร ไฮโดรฟิลิก (ชอบน้ำ) ขณะที่สสารที่ไม่รวมตัวกับน้ำ (เช่น ไขมันและน้ำมัน) เป็นที่รู้จักกันว่าสสาร ไฮโดรโฟเบีย (ไม่ชอบน้ำ)
  • ส่วนประกอบหลักส่วนใหญ่ในเซลล์ (โปรตีน ดีเอ็นเอ และพอลิแซ็กคาไรด์) สามารถละลายได้ในน้ำ
  • น้ำบริสุทธิ์มีสภาพนำไฟฟ้าต่ำ แต่จะเพิ่มได้ด้วยการแยกตัวของสารประกอบไอโอนิกปริมาณเล็กๆ เช่น โซเดียมคลอไรด์
  • จุดเดือดของน้ำ (และของเหลวอื่น ๆ) ขึ้นอยู่กับความกดดันของบรรยากาศ ตัวอย่างเช่น บนยอดเขาเอเวอเรสต์ น้ำจะเดือดที่อุณหภูมิ 68 องศาเซลเซียส เปรียบเทียบกับ 100 องศาเซลเซียสที่ระดับน้ำทะเล ในทางกลับกัน น้ำที่ลึกลงไปในมหาสมุทรใกล้กับปล่องไฮโดรเทอร์มอล มีอุณหภูมิได้ถึงหลายร้อยองศาเซลเซียสและยังคงสถานะเป็นของเหลวอยู่
  • ที่พลังงาน 4181.3 จูลต่อกิโลกรัมเคลวิน น้ำมีค่าความจุความร้อนจำเพาะสูง รวมถึงความร้อนในการระเหยเป็นไอสูง (40.65 กิโลจูลต่อโมล) เป็นผลจากส่วนขยายของการจับพันธะไฮโดรเจนระหว่างโมเลกุล คุณสมบัติสองประการนี้ทำให้น้ำรักษาสมดุลสภาพอากาศของโลกได้โดยการปรับสมดุลความผันแปรของอุณหภูมิ
  • ภาวะที่น้ำมีความหนาแน่นสูงที่สุดคือที่อุณหภูมิ 3.98 องศาเซลเซียส (39.16 องศาฟาเรนไฮต์) มีคุณสมบัติที่ความหนาแน่นลดลงไม่ใช่เพิ่มขึ้นของน้ำเมื่อน้ำได้รับความเย็นจนเปลี่ยนเป็นสถานะของแข็ง ในระหว่างที่น้ำกำลังเป็นน้ำแข็ง "โครงสร้างเปิด" ของน้ำแข็งจะค่อยๆ แตกและโมเลกุลจะแทรกตัวเข้าไปตามโพรงในโครงสร้างคล้ายน้ำแข็งที่น้ำอุณหภูมิต่ำ มีผลกระทบที่แข่งกัน 2 ประการคือ 1. เพิ่มปริมาตรของของเหลวปกติ และ 2. ลดปริมาตรโดยรวมของของเหลว ที่อุณหภูมิระหว่าง 0 ถึง 3.98 องศาเซลเซียส ผลกระทบประการที่สองจะล้มล้างผลกระทบประการแรก ดังนั้นผลกระทบสุทธิคือการลดปริมาตรลงด้วยอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น  มันจะขยายเพื่อให้มีปริมาตรเพิ่มขึ้น 9% ในสถานะของแข็ง ซึ่งเป็นสาเหตุของข้อเท็จจริงที่น้ำแข็งลอยน้ำได้ อย่างเช่น ภูเขาน้ำแข็ง
  • ค่าความหนาแน่นของน้ำคือ 1,000 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เป็นของเหลว (ที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส น้ำแข็งมีความหนาแน่น 917 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร)
  • น้ำสามารถรวมตัวกับของเหลวได้หลายชนิด เช่น เอทานอล ซึ่งก่อตัวเป็นของเหลวเนื้อเดียวกันในทุกอัตราส่วน ในอีกประการหนึ่ง น้ำกับน้ำมันส่วนใหญ่จะไม่รวมตัวกัน ปกติจะก่อตัวเป็นชั้นตามความหนาแน่นที่เพิ่มขึ้นจากข้างบนสุด ในสถานะแก๊ส ไอน้ำรวมตัวกับอากาศได้อย่างสมบูรณ์
  • น้ำก่ออะซีโอโทรปกับตัวทำละลายอื่นๆ หลายชนิด
  • น้ำสามารถถูกแยกสลายด้วยไฟฟ้าเป็นไฮโดรเจนและออกซิเจนได้
  • ในฐานะที่เป็นออกไซด์ของไฮโดรเจน น้ำถูกก่อตัวขึ้นเมื่อไฮโดรเจนหรือสารประกอบไฮโดรเจนเผาไหม้หรือทำปฏิกิริยากับออกซิเจนหรือสารประกอบออกซิเจน น้ำไม่ใช่เชื้อเพลิง น้ำเป็นผลผลิตสุดท้ายในกระบวนการเผาไหม้ของไฮโดรเจน พลังงานที่ต้องการในการแยกสลายน้ำออกเป็นไฮโดรเจนและออกซิเจนด้วยไฟฟ้าหรือวิธีอื่น มีมากกว่าพลังงานที่เก็บสะสมได้เมื่อไฮโดรเจนกลับมารวมกับออกซิเจนอีกครั้งเสียอีก
  • ธาตุที่เป็นประจุบวกมากกว่าไฮโดรเจน เช่น ลิเธียม โซเดียม แคลเซียม โพแทสเซียม และซีเซียม จะปลดไฮโดรเจนออกจากน้ำ เกิดเป็นไฮดรอกไซด์ เนื่องจากเป็นแก๊สไวไฟ ไฮโดรเจนที่ออกไปจะเป็นอันตรายและปฏิกิริยาของน้ำกับธาตุดังกล่าวนี้อาจทำให้เกิดระเบิดรุนแรง