by www.zalim-code.com

วันเสาร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2556

                                                            สรุปการวิจัย

                       เรื่อง “การวิจัยเพื่อพัฒนาสังคมไทย”

 
               สำหรับกิจกรรมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ครูจาเป็นต้องใช้วิธีการต่าง ๆ ที่จะช่วยเร้าความสนใจของนักเรียนเป็นต้นว่า การใช้สื่อในการเรียนการสอน รวมทั้งการใช้เทคนิคการสอนต่าง ๆ ทั้งนี้ครูจะต้องเลือกใช้สื่อให้เหมาะสมกับเนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร์ที่จะสอนด้วย (ภพ เลาหไพบูลย์, 2537) ของเล่นเป็นอุปกรณ์อีกชนิดหนึ่งที่สามารถใช้เป็นสื่อประกอบการเรียนการสอนหรือใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยเฉพาะของเล่นที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้และเข้าใจหลักการทางวิทยาศาสตร์ สามารถทาให้นักเรียนเกิดการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขึ้นได้ ดังที่ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2534) ได้ระบุว่า รูปแบบหนึ่งของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่น่าสนใจ คือการให้นักเรียนสนุกสนานกับการเล่น ซึ่งนอกจากนักเรียนได้ลงมือทาแล้ว นักเรียนยังได้ฝึกพัฒนาการคิดเป็นขั้นตอน มีความใฝ่รู้ มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และมีเจตคติทางวิทยาศาสตร์

                        จากที่กล่าวมาแสดงให้เห็นว่าของเล่นเชิงวิทยาศาสตร์เป็นสื่อที่นามาใช้ประกอบการจัดการเรียนรู้ได้ เนื่องจากสามารถช่วยในการพัฒนากระบวนการคิดของนักเรียน และการเรียนปนเล่นจะส่งผลดีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จากหลักการและเหตุผลข้างต้น ผู้วิจัยมีความสนใจที่จะศึกษาวิจัยเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับของเล่นเชิงวิทยาศาสตร์
ผู้วิจัยคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผลงานวิจัยครั้งนี้จะส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ดีขึ้น และเกิดความรู้ ความเข้าใจ สามารถนาหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่ได้จากการประดิษฐ์ของเล่นเชิงวิทยาศาสตร์ ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจาวันได้ อีกทั้งยังเป็นแนวทางในการพัฒนาการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์และศาสตร์อื่นๆ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับของเล่นเชิงวิทยาศาสตร์
2. เพื่อศึกษาจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับของเล่นเชิงวิทยาศาสตร์
3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับของเล่นเชิงวิทยาศาสตร์
     วิธีการวิจัย
ผู้วิจัยดำเนินการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูลตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. เสนอต่อผู้บริหารโรงเรียนบ้านคลองแรด ตาบลคลองพน อาเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ เพื่อขอความร่วมมือในการทดลองสอนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555
2. ทดสอบนักเรียนก่อนเรียน (Pretest) โดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่องแรงในชีวิตประจาวัน จานวน 55 ข้อ เวลา 1 ชั่วโมง
3. ผู้วิจัยนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฎจักรการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับของเล่น เชิง
การ          ประชุมหาดใหญ่วิชาการ ครั้งที่ 4 344 เรื่อง “การวิจัยเพื่อพัฒนาสังคมไทย”

วิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงในชีวิตประจาวัน ที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วไปดาเนินการสอนด้วยตนเองกับกลุ่มตัวอย่าง โดยจัดกิจกรรมวันละ 1 แผนการจัดการเรียนรู้ เป็นเวลา 3 ชั่วโมง ระยะเวลา 5 วัน รวม 15 ชั่วโมง ระหว่างวันที่ 2 มกราคม 2556 ถึง วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2556
4. เมื่อเสร็จสิ้นการจัดการเรียนรู้ ผู้วิจัยทาการทดสอบนักเรียนหลังเรียน (Post - test) โดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่องแรงในชีวิตประจาวัน จานวน 55 ข้อ เวลา 1 ชั่วโมง แบบประเมินคุณลักษณะทางจิตวิทยาศาสตร์ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อวิธีการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้7 ขั้น ร่วมกับของเล่นเชิงวิทยาศาสตร์ เวลา 10 นาที รวมใช้ระยะเวลาในการดาเนินการวิจัย 17 ชั่วโมง
5. ตรวจผลการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ แบบประเมินคุณลักษณะทางจิตวิทยาศาสตร์ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และนาคะแนนที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติเพื่อทดสอบสมมติฐานต่อไป
ผลการวิจัย 1. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้นร่วมกับของเล่น เชิงวิทยาศาสตร์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้นร่วมกับของเล่นเชิงวิทยาศาสตร์ มีจิตวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับมาก โดยมีคะแนนเฉลี่ยรวมทุกด้านเท่ากับ 4.01
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านคลองแรด มีความพึงพอใจต่อวิธีการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้นร่วมกับของเล่นเชิงวิทยาศาสตร์ อยู่ในระดับพึงพอใจมาก โดยมีคะแนนเฉลี่ยรวมทุกด้านเท่ากับ 4.24


 

วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2556


ครั้งที่ 18
วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2556
Sunday 29 September 2013

วันนี้มีเรียนชดเชย และมีงานที่ต้องส่ง  ดังนี้
 1. ทำการทดลองให้อาจารย์ดู
 2. ส่งสิ่งประดิษฐิ์ 2 ชิ้น คือ   ของเล่นวิทยาศาสตร์และมุมวิทยาศาสตร์
 3. ส่งใบงานทั้ง การทดลอง  ของเล่นวิทยาศาสตร์ และมุมวิทยาศาสตร์




 ครั้งที่ 17
วันพุธที่  25 กันยายน พ.ศ. 2553
 Wednesday 17 September 2013
วันนี้อาจารย์ได้ให้สรุปองค์ความรู้ที่ได้มาในวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยตลอดทั้งเทอมผ่านการทำ Mindmapping เขียนลงในกระดาษระบายสีให้สวยงาม มีดังนี้



สรุปองค์ความรู้ในวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ความหมายของวิทยาศาสตร์
     - การศึกษาธรรมชาติรอบตัว
     - การศึกษาอย่างมีระบบ
     - การศึกษาอย่างมีเหตุผล
ความสำคัญของวิทยาศาสตร์
     - มีผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน
     - ช่วยพัฒนาความคิดอย่างมีเหตุผล
     - ทำให้เราค้นพบความเปลี่ยนแปลง
     - พัฒนาปรับปรุงสิ่งรอบตัว
พัฒนาการทางสติปัญญา 
     - มีความสามรถในการคิด
     - มีการปฎิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
     - ขั้นพัฒนาการทางวิทยาศตร์
การเรียนรู้วิทยาศาสตร์
     -เกิดจากที่เส้นใยสมองเชื่อมต่อกัน
     - อุปสรรคของการเรียน
     - ความหมายของการเรียนรู้
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
     - กระบวนการเบื่องต้น
     - วิธีการจัดประสบการณ์
     - กระบวนการผสม
     - วิธีการใช้สื่อ
 
 

ครั้งที่ 16
วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2556
Wednesday 16 September 2013

ในวันนี้อาจารย์นัดให้ทำอาหาร คือ ไข่ตุ๋นทรงเครื่อง ให้มีตัวแทนออกมาเป็นครูสอน และมีนักศึกษาที่ทำเป็นออกมาทำและแสดงเป็นนักเรียน ซึ่งไข่ตุ๋นที่ทำมีรสชาตอร่อย ไม่แข็งจนเกินไป และมีขั้นตอนและวิธีทำดังนี้

ส่วนประกอบและเครื่องปรุง1. ไข่ไก่ 2 ฟอง
2. เนื้อกุ้ง (แกะเปลือกออกทั้งหมด)
3. ต้นหอมซอย
4. แครอท บล็อคโคลี่ (ผักสามารถเปลี่ยนได้ตามความต้องการค่ะ)
5. น้ำเปล่า
6. สาหร่าย
7. ปลาแห้ง
8. ซีอิ้วขาว
ขั้นตอนวิธีทำไข่ตุ๋น
1. เริ่มอย่างแรกด้วยการทำน้ำซุปก่อนค่ะ นำน้ำเปล่า ปลาแห้ง และสาหร่ายคนบุใส่หม้อตั้งไฟ ต้มให้ได้ที่ระวังอย่าให้เกิดฟอง จากนั้นกรองด้วยกระชอนตาถี่ก็จะได้น้ำซุปปลาใสพักไว้ให้เย็น

หมายเหตุ : ถ้าไม่สะดวกในการหาส่วนประกอบสามารถใช้ผงซุปสำเร็จปรุงเป็นน้ำซุปได้ค่ะ
2. เติมไข่ไก่  ซีอิ้วขาว (เค็มมากหรือน้อยตามใจชอบค่ะ) จากนั้นค่อยๆเติมน้ำซุปปลาลงไปในชามไข่ระหว่างนี้ก็ตีไข่ไก่ไปด้วยค่ะ
3. กรองไข่ด้วยกระชอนตาถี่ จะได้เนื้อไข่เนียนๆค่ะ
4. ใส่น้ำตั้งซึ่งด้วยไฟแรงจนน้ำเดือดแล้วค่อยวางถ้วยไข่ลงไปนึ่ง นึ่ง 10 นาที ใช้ไฟอ่อน
5. เติมแครอท บล็อคโคลี่ (หรือผักต่างๆตามชอบ) ,กุ้ง บนหน้าไข่ตุ๋น ปิดฝานึ่งต่ออีก 5 นาที
6. โรยหน้าด้วยต้นหอมซอยเป็นอันเสร็จเรียบร้อย พร้อมเสริฟค่ะ
ข้อแนะนำ : เราสามารถใส่ส่วนประกอบไม่ว่าจะเป็นกุ้งสับ หมูสับ ผักต่างๆ ลงไปด้านล่าง แล้วค่อยเทไข่ที่เตรียมไว้ตามลงไป จากนั้นทำการนึ่งได้ตามปกติ จะได้ไข่ตุ๋นทรงเครื่องอีกหนึ่งเมนูง่ายๆทำได้เองในบ้านค่ะ





วันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2556


ครั้งที่ 15
วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556
Sunday 15 September 2013

วันนี้ได้เรียนชดเชยและอาจารย์ได้ให้แต่ละกลุ่มเขียนแผน เขียนขั้นตอนการทำอาหารที่เลือก เขียนความสำคัญของอาหาร ให้คิดว่าแต่กลุ่มจะทำอาหารอะไร มีวัสดุอะไรบ้าง ซึ่งกลุ่มของดิฉันเลือกทำอาห าร คือ ไข่เจียว และมีการเขียนแผนที่จะสอน แต่ให้เขียนใส่กระดาษ 4 แผ่น ให้แต่ละกลุ่มออกไปพูด จากนั้นอาจารย์ก็ให้เลือกว่าจะให้ทำอาหารอะไรในวันพุธ ทุกคนเลือกทำไข่ตุ๋น ครั้งหน้าในวันพุธจึงทำไข่ตุ๋นและได้ให้ตัวแทนซ้ือของมา และเก็บเงินซ้ือวัสดุอุปกรณ์ที่จะทำ
















ครั้งที่ 14           

วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556
Wednesday 11 september 2013





***ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ติดธุระ ได้สั่งงานไว้ในทำ คือบล๊อกและรูปเล่มโครงงานที่ไปศึกษาในโรงเรียนทั้ง 2 แห่ง *****

ครั้งที่ 13
วันพุธที่  4 กันยายน พ.ศ. 2556
Wednesday 4 September 2013



*****ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดธุระ และได้สั่งงานให้ทำ คือรวบรวมผลงานที่ไปศึกษาดูงานมาจากโรงเรียนทั้ง  2 แห่ง****
ครั้งที่ 12

วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ.2556
Wednesday 28 August 2013

ได้ไปศึกษาดูงานที่โรงเรียนสาธิตม.ราชภัฏนครราชสีมา ในวันที่ 28 สิงหาคม และวันที่ 28-29 สิงหาคมได้ศึกษาดูงานที่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา      
                   
   โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา หรือ "โรงเรียนนอกกะลา" เป็นโรงเรียนเอกชนที่ไม่แสวงหาผลกำไร ในสังกัดของ กลุ่มส่งเสริมสถานศึกษาเอกชน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์เขต 1 เปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลจนถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ตั้งอยู่ในจังหวัดบุรีรัมย์
ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2546 โดยมูลนิธิลำปลายมาศพัฒนา โดยการ ได้เปิดทำการเรียนการ สอนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2546 เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2546 จำนวน 3 ชั้นเรียน ได้แก่ ชั้นอนุบาล 1 ชั้นอนุบาล 2 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ได้คัดเลือกเด็กจากเด็กทั่วไปโดยวิธีจับฉลาก นักเรียนที่เข้าเรียนไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน ข้อพิจารณาที่สำคัญคือ ผู้ปกครองต้องพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับโรงเรียนฯ ในการพัฒนาผู้เรียนอย่างเต็มศักยภาพ ปัจจุบันมูลนิธิลำปลายมาศพัฒนา] เป็นผู้ถือใบอนุญาตโรงเรียนฯ และเปิดทำการเรียนการสอนครบ 11 ชั้นเรียน คือ ชั้นอนุบาล 1–2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาโดยมูลนิธิลำปลายมาศพัฒนา เป็นโรงเรียนเอกชนที่ไม่เก็บค่าเล่าเรียน มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นโรงเรียนตัวอย่าง เริ่มดำเนินการจัดการเรียนการสอนตั้งแต่ปีการศึกษา 2546 ถึงปัจจุบัน ในระดับชั้นอนุบาลประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น มีนักเรียนทั้งหมด 240 คน มีครู 30 คน รับนักเรียนโดยการจับฉลาก โรงเรียนฯ ตั้งอยู่บนพื้นที่ 50.2 ไร่ ในเขตอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยเงินของมูลนิธิลำปลายมาศพัฒนา สร้างเสร็จและเปิดทำการเรียนการสอนเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2546
ตั้งแต่เริ่มต้น นายเจมส์ คลาร์ก เป็นผู้สนับสนุนในเรื่องการลงทุนก่อสร้างโรงเรียน และสิ่งสนับสนุนทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว เป็นจำนวนเงินประมาณ 52.5 ล้านบาท นอกจากนั้น นายเจมส์ คลาร์ก ยังสนับสนุนในเรื่องค่าใช้จ่ายดำเนินการของโรงเรียนทั้งหมด ตั้งแต่ ปี 2546 - 2553 เป็นเงิน 52.5 ล้านบาท รวมเป็นเงินที่ นายเจมส์ คลาร์ก สนับสนุนโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาถึงปัจจุบันเป็นเงินทั้งสิ้น 105 ล้านบาทนนอกกะลา

สิ่งที่แตกต่างจากโรงเรียนทั่วๆไป

เป็นโรงเรียนที่ไม่มีการสอบ
เป็นโรงเรียนที่ไม่เสียงระฆัง
เป็นโรงเรียนที่ไม่มีดาวให้ผู้เรียน
เป็นโรงเรียนที่ไม่ต้องใช้แบบเรียน
เป็นโรงเรียนที่ไม่มีครูอบรมหน้าเสาธง
เป็นโรงเรียนที่ได้ได้จัดลำดับความสามารถของผู้เรียน
เป็นโรงเรียนที่ครูสอนด้วยเสียงเบาที่สุด
เป็นโรงเรียนที่พ่อแม่ต้องมาเรียนรู้ร่วมกับลูก
เป็นโรงเรียนที่ทุกคนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข

วันเสาร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2556


ครั้งที่ 11
วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ.2556

Wednesday 21August 2013

ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากผู้สอนให้ทำงานที่รับมอบหมายดังนี้

-  ทำการทดลองวิทยาศาตร์
 

- ประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ 


 
-  การทำว่าวจากใบไม้
 


 
 
  ครั้งที่ 10
วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ.2556
Wedenesday 14 Augest 2013



นัดหมายการไปศึกษาดูงาน ที่ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
         และโรงเรียนลำปลาบมาศพัฒนา   จ.บุรีรัมย์   ในวันที่  27 - 28  สิงหาคม  2556


     -   ตรวจบล็อก พร้อมให้คำแนะนำ เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์


     -พูดการเตรียมตัวไปศึกษาดูงงานที่ 2 โรงเรียนที่ต้องไป ให้แบ่งหน้าที่ว่าใครจะทำอะไรบ้าง  ทุกคนต้องมีหน้าที่ในการไปศึกษาดูงาน และของที่ต้องเตรียมไปแต่ละฝ่าย 



วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2556


ครั้งที่ 9
วันพุธที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2556
Wednesday 7 August 2013

       ได้เข้าร่วมกิจกรรมของอาจารย์ณุตา พงษ์สุผล ชื่อโครงการว่า "โครงการกายงาม ใจดี ศรีปฐมวัย"
ซึ่งในงานมีกิจกรรมมากมาย เช่น มีการแสดงรำศรีวิชัย และเซิ้งของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 มีการแสดงร้องเพลง เต้น ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มีการสอนเรื่องมารยาทไทยทั้งการไหว้ การนั่ง การยืน การส่งของ
การรับของ และมีการประกวดในส่ิงที่ได้สอน  อาจรย์ณุตาก็ได้เล่าถึงมารยาทที่ควรปฏิบัติ การแต่งกาย ส่ิงควรทำและสิ่งไหนที่ไม่ควรทำ ซึ่งส่ิงอาจารย์กล่าวมาเราในฐานะที่เป็นลูกศิษย์ควรน้อมรับและต้องปฏิบัติตาม และได้มีการให้ดาวให้สำหรับผู้ที่เข้าร่วมงานเพ่ือเป็นคะแนนในแต่ละวิชานั้นๆ

วันเสาร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 8
วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
Wednesday 31 July 2013







 ****ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากมีการสอบกลางภาค****
ครั้งที่ 7
วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
Wednesday 24 July 2013

สรุปจากแผนผังความคิด (กระบวนการวิทยาศาสตร์)

 
1.  กระบวนการเบื้องต้น
     -  การวัด                
     -  การจำแนก          
     -  หาความสัมพันธ์      
     -  การคำนวน            
     -  การพยากรณ์   
     
2.  กระบวนการผสม
     -  ตั้งสมมติฐาน 

 
3.  วิธีการจัด
     - จัดเป็นทางการ    
     - จัดไม่เป็นทางการ   
     - จัดตามเหตุการณ์
         
 4.   วิธีการเลือกใช้สื่อ
     -  การเลือก 
     - เตรียมอุปกรณ์และทดลองใช้
       
เทคนิคการคิดวิคราะห์
- What
- Where  
- When 
- Why
- Who
- How
อาจารย์ได้เปิดการเรียนแบบบูรณาการจาก Power Point โดยได้เปิดการสอนแบบโครงงานมาจากโรงเรียนเกษมพิทยาจากการที่ได้ดูโทรทัศน์ครู สิ่งที่ได้รับคือ  การเรียนเเบบโครงการ <Project Approach>


ขั้นตอนในการเรียนเเบบโครงการมี 5 ขั้นตอน
 
1.อภิปราย
2.นำเสนอประสบการณ์เดิม
3.ทำงานภาคสนาม
4.สืบค้น
5.จัดเเสดง
 

ครั้งที่ 6
วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
Wednesday 17 July 2013


การทดลองวิทยาศาสตร์

                                      ดังกว่าได้อย่างไร 

วัสดุอุปกรณ์
1.
ลูกโป่ง
2.
เศษกระดาษ
3.
ไม้บรรทัด
4.
ยางรั

วิธีการทดลอง
1.
เป่าลูกโป่งให้พองเต็มที่ แล้ววัดความกว้างของลูกโป่งนี้ว่าเป็นเท่าไร
2.
ให้เพื่อนถือเศษกระดาษให้อยู่ระดับหูห่างจากหูเท่ากับความกว้าง ลูกโป่ง แล้วใช้นิ้วมือเคาะเบาๆที่กระดาษ สังเกตว่าได้ยินเสียงหรือไม่ อย่างไร
3.
จับลูกโป่งในข้อ 1 แนบหู ให้เพื่อน สอดเศษกระดาษเข้าไประหว่าง ลูกโป่งและมือที่จับ แล้วใช้นิ้ว เคาะเบาๆที่กระดาษเปรียบเทียบ ความดังที่ได้ยิน

ผลการทดลอง

เมื่อเคาะเบาๆที่กระดาษที่แนบติดกับลูกโป่งจะได้ยินเสียงดังชัดเจน กว่าเมื่อเคาะโดยไม่มีลูกโป่งกั้น ที่เป็นดังนี้เพราะอากาศภายในลูกโป่งมี มากและถูกอัดให้อยู่ภายในลูกโป่ง ดังนั้นอนุภาค (โมเลกุล) ของอากาศจะ อยู่ใกล้ชิดกันมากกว่าอนุภาคของอากาศภายนอก อากาศที่มีอนุภาคใกล้ชิด กันมากจะเป็นตัวกลางที่ดีในการให้เสียงเคลื่อนที่ผ่าน
 



 
 
 
 
 
 

ของเล่นวิทยาศาสตร์

                               นกบินได้

อุปกรณ์
1.ไม้ไผ่
2.เบล็ดตกปลา
3.ดินเหนียว
4.เข็ม
5.สก๊อตเทป


วิธีทำ
1.เหลาไม้ไผ่ให้ได้ขนาดตามที่ต้องการและใช้สก้อตเทปสีพันไม้ตกแต่งให้สวยงาม
2.ง้อไม้ไผ่และใช้เบล็ดตกปลาผูกปลายบนไม้ไผ่ และปั้นดินเหนียวเป็นรูปนก และใช้เข็มเจาะบนหัวของนก
3.ใช้เบล็ดที่เหลือสอดนกเข้าไปและผูกกับปลายไม้ไผ่

  วิธีการเล่นคือ ดึงนกให้สุดปลาบน และตีหางนก นกก็จะบินเอง
 
 




มุมวิทยาศาสตร์

 
แว่นขยาย
 
 
อุปกรณ์
1.ขวดน้ำ 6 ลิตร
2.ถุงพลาสติก
3.คัตเตอร์
4.สก็อตเทป
5.ปากกาเมจิ
6.ลูกแก้ว
7.โบว์

วิธีทำ
1.ตัดปากขวดและตรงกลางของขวดน้ำ
2.ใช้สก็อตเทปติดขอบที่ตัดเพ่ือความสวยงามและปลอดภัย
3.นำถุงพลาสติกใส่ลงในขวด   ใช้โบว์ผูกมัดรอบปากขวดให้สวยงาม
4.ใส่ลุกแก้วลงไปในช่องใต้ล่าง
5.ใส่น้ำลงไปในถุงพลาสติก


    วิธีการ คือ มองจากข้างบนขวดน้ำ มองผ่านน้ำจะเห็นลูกแก้วที่อยู่ใต้ล่างขยายใหญ่ขึ้น






 




 



















 


ครั้งที่ 5
วันพุธ 10 กรกฎาคม พ.ศ.2556
Wednesday 9 July 2013
อาจารย์ได้ให้ออกมารายงานของเล่นวิทยาศาสตร์ที่หามาโดยต้องรายงานทุกคน บางคนก็หาไม่ใช่ของเล่น แต่เป็นการทดลอง หรือไม่ก็เป็นมุมวิทยาศาสตร์ ซึ่งของฉันได้ออกมารายงานของเล่นวิทยาศาสตร์คือ
ครั้งที่  4
วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
Wednesday 3 July 2013

อาจารย์ได้สอนเรื่อง น้ำ โดยได้เปิด Power Point ให้นักศึกษาได้ได้ดู และได้ให้บันทึกเรื่องของน้ำลงใส่
 กระดาษและนำส่งอาจารย์


น้ำ เป็นสารประกอบเคมีชนิดหนึ่ง มีสูตรเคมีคือ H2O โมเลกุลของน้ำประกอบด้วยออกซิเจน 1 อะตอมและไฮโดรเจน 2 อะตอมเชื่อมติดกันด้วยพันธะโควาเลนต์ น้ำเป็นของเหลวที่อุณหภูมิและความดันมาตรฐาน แต่พบบนโลกที่สถานะของแข็ง (น้ำแข็ง) และสถานะแก๊ส (ไอน้ำ) น้ำยังมีในสถานะของผลึกของเหลวที่บริเวณพื้นผิวที่ชอบน้ำ
น้ำปกคลุม 71% บนพื้นผิวโลก และเป็นปัจจัยสำคัญต่อชีวิต  น้ำบนโลก 96.5% พบในมหาสมุทร 1.7% ในน้ำใต้ดิน 1.7% ในธารน้ำแข็งและชั้นน้ำแข็งของทวีปแอนตาร์กติกาและเกาะกรีนแลนด์ ซึ่งเป็นเศษส่วนเล็กน้อยบนผิวน้ำขนาดใหญ่ และ 0.001% พบในอากาศเป็นไอน้ำ ก้อนเมฆ (ก่อตัวขึ้นจากอนุภาคน้ำในสถานะของแข็งและของเหลวแขวนลอยอยู่บนอากาศ) และหยาดน้ำฟ้า  น้ำบนโลกเพียง 2.5% เป็นน้ำจืด และ 98.8% ของน้ำจำนวนนั้นพบในน้ำแข็งและน้ำใต้ดิน น้ำจืดน้อยกว่า 0.3% พบในแม่น้ำ ทะเลสาบ และชั้นบรรยากาศ และน้ำจืดบนโลกในปริมาณที่เล็กลงไปอีก (0.003%) พบในร่างกายของสิ่งมีชีวิตและผลิตภัณฑ์
น้ำบนโลกเคลื่อนที่ต่อเนื่องตามวัฏจักรของการระเหยเป็นไอและการคายน้ำ (การคายระเหย) การควบแน่น การตกตะกอน และการไหลผ่าน โดยปกติจะไปถึงทะเล การระเหยและการคายน้ำนำมาซึ่งการตกตะกอนลงสู่พื้นดิน
น้ำดื่มสะอาดเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ แม้ว่าน้ำจะไม่มีแคลอรีหรือสารอาหารที่เป็นสารประกอบอินทรีย์ใดๆ การเข้าถึงน้ำดื่มสะอาดได้เปลี่ยนแปลงไปในช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านมาในเกือบทุกส่วนของโลก แต่ประชากรประมาณ 1 พันล้านคนยังคงขาดแคลนน้ำดื่มสะอาดและกว่า 2.5 พันล้านคนขาดแคลนสุขอนามัยที่เพียงพอ มีความเกี่ยวพันกันเรื่องน้ำสะอาดและค่า GDP ต่อคน  อย่างไรก็ดี นักสังเกตบางคนประมาณไว้ว่าภายในปี ค.ศ. 2025 ประชากรโลกมากกว่าครึ่งหนึ่งจะประสบปัญหาความเสี่ยงที่เกี่ยวกับ รายงานล่าสุดเมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2009 รายงานว่า ภายในปี ค.ศ. 2030 ในพื้นที่ประเทศที่กำลังพัฒนาจะมีความต้องการน้ำจะเพิ่มขึ้นเกิดปริมาณน้ำที่มีกว่า 50% น้ำมีบทบาทสำคัญในเศรษฐกิจโลก เนื่องจากน้ำเป็นตัวทำละลายของสารเคมีหลากหลายชนิดและอำนวยความสะดวกในเรื่องการให้ความเย็นในภาคอุตสาหกรรมและการคมนาคม น้ำจืดประมาณ 70% มนุษย์ใช้ไปกับเกษตรกรรม[11]

การตกกระแทกของหยดน้ำ

คุณสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์
น้ำเป็นสารเคมีชนิดหนึ่งที่เขียนสูตรเคมีได้ว่า H2O: น้ำ 1 โมเลกุลประกอบด้วยไฮโดรเจน 2 อะตอม สร้างพันธะโควาเลนต์รอบออกซิเจน 1 อะตอม
ในธรรมชาติ น้ำปรากฏในทุกสถานะของสสาร (ของแข็ง ของเหลว และแก๊ส) และอาจพบในรูปร่างที่แตกต่างกันมากมายบนโลก นั่นคือไอน้ำและก้อนเมฆบนท้องฟ้า น้ำทะเลในมหาสมุทร ภูเขาน้ำแข็งในแหล่งน้ำขั้วโลก ธารน้ำแข็งและแม่น้ำในภูเขา และของเหลวในชั้นหินอุ้มน้ำของพื้นดิน
คุณสมบัติหลักทางเคมีและฟิสิกส์ของน้ำ ได้แก่
  • น้ำเป็นของเหลวที่อุณหภูมิและความดันมาตรฐาน ไม่มีรสชาติและไม่มีกลิ่น โดยเนื้อแท้แล้ว สีของน้ำและน้ำแข็งเป็นโทนสีฟ้าอ่อน แม้ว่าจะปรากฏเป็นไม่มีสีหากมีปริมาณเล็กน้อย ส่วนไอน้ำโดยปกติจะเป็นแก๊สซึ่งมองไม่เห็น
  • หากมองจากสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า น้ำเป็นของเหลวโปร่งใส ดังนั้น ดังนั้นพืชน้ำจึงสามารถอยู่ในน้ำได้เพราะมีแสงอาทิตย์ส่องอย่างทั่วถึง มีพันธะไฮโดรเจนดูดกลืนแสงอินฟราเรดอย่างแข็งแรง
  • เนื่องจากโมเลกุลของน้ำไม่เป็นเส้นตรงและอะตอมออกซิเจนมีอิเล็กโทรเนกาติวิตีสูงกว่าไฮโดรเจน มันจึงเก็บประจุไฟฟ้าลบไว้ ขณะที่อะตอมไฮโดรเจนค่อนข้างเป็นบวก ผลคือ น้ำเป็นโมเลกุลมีขั้วที่เป็นโมเมนต์ไฟฟ้าขั้วคู่ น้ำสามารถก่อรูปร่างเป็นพันธะไฮโดรเจนจำนวนมากระหว่างโมเลกุลในน้ำปริมาณหนึ่งๆ ปัจจัยเหล่านี้ก่อให้เกิดแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลของน้ำและทำให้น้ำมีแรงตึงผิว[13]และแรงยกตัวสูง แรงยกตัวหมายถึงแนวโน้มของน้ำที่จะเคลื่อนที่ขึ้นตามท่อแคบๆ ต้านแรงโน้มถ่วง คุณสมบัตินี้พบได้ในพืชมีท่อลำเลียงทุกชนิด เช่น ไม้ยืนต้นต่างๆ
  • น้ำเป็นตัวทำละลายมีขั้วที่ดีและมักถูกเรียกว่าเป็นตัวทำละลายสากล สสารที่ละลายในน้ำได้ เช่น เกลือ น้ำตาล กรด อัลคาไล และแก๊สบางชนิด โดยเฉพาะออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ (คาร์บอเนชัน) เป็นที่รู้จักกันว่าสสาร ไฮโดรฟิลิก (ชอบน้ำ) ขณะที่สสารที่ไม่รวมตัวกับน้ำ (เช่น ไขมันและน้ำมัน) เป็นที่รู้จักกันว่าสสาร ไฮโดรโฟเบีย (ไม่ชอบน้ำ)
  • ส่วนประกอบหลักส่วนใหญ่ในเซลล์ (โปรตีน ดีเอ็นเอ และพอลิแซ็กคาไรด์) สามารถละลายได้ในน้ำ
  • น้ำบริสุทธิ์มีสภาพนำไฟฟ้าต่ำ แต่จะเพิ่มได้ด้วยการแยกตัวของสารประกอบไอโอนิกปริมาณเล็กๆ เช่น โซเดียมคลอไรด์
  • จุดเดือดของน้ำ (และของเหลวอื่น ๆ) ขึ้นอยู่กับความกดดันของบรรยากาศ ตัวอย่างเช่น บนยอดเขาเอเวอเรสต์ น้ำจะเดือดที่อุณหภูมิ 68 องศาเซลเซียส เปรียบเทียบกับ 100 องศาเซลเซียสที่ระดับน้ำทะเล ในทางกลับกัน น้ำที่ลึกลงไปในมหาสมุทรใกล้กับปล่องไฮโดรเทอร์มอล มีอุณหภูมิได้ถึงหลายร้อยองศาเซลเซียสและยังคงสถานะเป็นของเหลวอยู่
  • ที่พลังงาน 4181.3 จูลต่อกิโลกรัมเคลวิน น้ำมีค่าความจุความร้อนจำเพาะสูง รวมถึงความร้อนในการระเหยเป็นไอสูง (40.65 กิโลจูลต่อโมล) เป็นผลจากส่วนขยายของการจับพันธะไฮโดรเจนระหว่างโมเลกุล คุณสมบัติสองประการนี้ทำให้น้ำรักษาสมดุลสภาพอากาศของโลกได้โดยการปรับสมดุลความผันแปรของอุณหภูมิ
  • ภาวะที่น้ำมีความหนาแน่นสูงที่สุดคือที่อุณหภูมิ 3.98 องศาเซลเซียส (39.16 องศาฟาเรนไฮต์) มีคุณสมบัติที่ความหนาแน่นลดลงไม่ใช่เพิ่มขึ้นของน้ำเมื่อน้ำได้รับความเย็นจนเปลี่ยนเป็นสถานะของแข็ง ในระหว่างที่น้ำกำลังเป็นน้ำแข็ง "โครงสร้างเปิด" ของน้ำแข็งจะค่อยๆ แตกและโมเลกุลจะแทรกตัวเข้าไปตามโพรงในโครงสร้างคล้ายน้ำแข็งที่น้ำอุณหภูมิต่ำ มีผลกระทบที่แข่งกัน 2 ประการคือ 1. เพิ่มปริมาตรของของเหลวปกติ และ 2. ลดปริมาตรโดยรวมของของเหลว ที่อุณหภูมิระหว่าง 0 ถึง 3.98 องศาเซลเซียส ผลกระทบประการที่สองจะล้มล้างผลกระทบประการแรก ดังนั้นผลกระทบสุทธิคือการลดปริมาตรลงด้วยอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น  มันจะขยายเพื่อให้มีปริมาตรเพิ่มขึ้น 9% ในสถานะของแข็ง ซึ่งเป็นสาเหตุของข้อเท็จจริงที่น้ำแข็งลอยน้ำได้ อย่างเช่น ภูเขาน้ำแข็ง
  • ค่าความหนาแน่นของน้ำคือ 1,000 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เป็นของเหลว (ที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส น้ำแข็งมีความหนาแน่น 917 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร)
  • น้ำสามารถรวมตัวกับของเหลวได้หลายชนิด เช่น เอทานอล ซึ่งก่อตัวเป็นของเหลวเนื้อเดียวกันในทุกอัตราส่วน ในอีกประการหนึ่ง น้ำกับน้ำมันส่วนใหญ่จะไม่รวมตัวกัน ปกติจะก่อตัวเป็นชั้นตามความหนาแน่นที่เพิ่มขึ้นจากข้างบนสุด ในสถานะแก๊ส ไอน้ำรวมตัวกับอากาศได้อย่างสมบูรณ์
  • น้ำก่ออะซีโอโทรปกับตัวทำละลายอื่นๆ หลายชนิด
  • น้ำสามารถถูกแยกสลายด้วยไฟฟ้าเป็นไฮโดรเจนและออกซิเจนได้
  • ในฐานะที่เป็นออกไซด์ของไฮโดรเจน น้ำถูกก่อตัวขึ้นเมื่อไฮโดรเจนหรือสารประกอบไฮโดรเจนเผาไหม้หรือทำปฏิกิริยากับออกซิเจนหรือสารประกอบออกซิเจน น้ำไม่ใช่เชื้อเพลิง น้ำเป็นผลผลิตสุดท้ายในกระบวนการเผาไหม้ของไฮโดรเจน พลังงานที่ต้องการในการแยกสลายน้ำออกเป็นไฮโดรเจนและออกซิเจนด้วยไฟฟ้าหรือวิธีอื่น มีมากกว่าพลังงานที่เก็บสะสมได้เมื่อไฮโดรเจนกลับมารวมกับออกซิเจนอีกครั้งเสียอีก
  • ธาตุที่เป็นประจุบวกมากกว่าไฮโดรเจน เช่น ลิเธียม โซเดียม แคลเซียม โพแทสเซียม และซีเซียม จะปลดไฮโดรเจนออกจากน้ำ เกิดเป็นไฮดรอกไซด์ เนื่องจากเป็นแก๊สไวไฟ ไฮโดรเจนที่ออกไปจะเป็นอันตรายและปฏิกิริยาของน้ำกับธาตุดังกล่าวนี้อาจทำให้เกิดระเบิดรุนแรง

วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 3


    อาจารย์ได้สรุปเนื้อหาจากที่เรียนในสัปดาห์ก่อนหน้านี้



 
คำนิยามต่างๆ ที่เกี่ยวกับรุ้ง
ก่อนที่เราจะมาทำความรู้จักกับรุ้งกันให้ดีขึ้น ขออนุญาตพูดเกี่ยวกับความหมายของคำต่างๆ ที่เกี่ยวกับรุ้ง กันก่อนนะครับ
รุ้ง - rainbow
รุ้ง
คำนาม : แสงที่ปรากฏบนท้องฟ้าเป็นแถบโค้งสีต่างๆ 7 สี คือ สีม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง ส้ม แดง
คำวิเศษณ์ : สีเช่นนั้นที่ปรากฏในเพชร
รุ้งกินน้ำ
ยังเปิดไม่เจอครับ แต่น่าจะเป็นคำนามที่แปลเหมือนคำว่ารุ้ง
รุ้งพราย
คำวิเศษณ์ : สีรุ้งที่กรอกอยู่พราวพรายในเพชร หรือเปลือกหอยบางชนิด เช่น หอยมุก
ทรงกลด
คำวิเศษณ์ : มีแสงสีรุ้งเป็นวงกลมล้อมรอบดวงอาทิตย์ หรือดวงจันทร์ คล้ายกลด
Rainbow
คือ ส่วนโค้งของแสงสีที่ปรากฏบนท้องฟ้า เกิดจากการหักเหของแสงอาทิตย์ในละอองน้ำในอากาศ (หลังฝนตก)
Corona
the set of colored rings around the sun or moon created when it shines through a thin cloud
คือ วงแหวน (ชั้นเดียว หรือ หลายชั้น) รอบดวงอาทิตย์ หรือดวงจันทร์ เกิดขึ้นเมื่อแสงส่องผ่านเมฆบาง
Halo
เรียกชื่ออื่นว่า ออรา (aura)
a circular band of colored light, visible around the sun or moon, caused by reflection and refraction of light by ice crystals in the atmosphere
คือ วงกลมแสงสีที่เกิดรอบดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ เกิดจากการสะท้อนและหักเหของแสงภายในเกล็ดน้ำแข็งที่อยู่ในชั้นบรรยากาศ
วิธีดูกลด(ฮาโล)ให้ชัดเจน น้องๆ ควรปิดกั้นดวงอาทิตย์ด้วยมือ หรือวัตถุที่หาได้ใกล้มือ เมื่อน้องๆ ยืดแขนออกจนสุดแล้วกางมือออก ใช้หัวแม่มือบังดวงอาทิตย์ นิ้วที่เหลือจะกางออกเป็นมุมประมาณ 20 ถึง 25 องศา วงของกลด(ฮาโล) จะทำมุมประมาณ 22 องศา จากจุดศูนย์กลางครับ
เราอาจกล่าวได้ว่า "รุ้งกินน้ำเป็นการแสดงแสงสีของธรรมชาติที่น่าตื่นตาตื่นใจยิ่ง" คำว่า "รุ้งกินน้ำ" ในภาษาอังกฤษ เรียกว่า "Rainbow" ซึ่งมาจากคำย่อย 2 คำ คือ Rain+bow ซึ่งสื่อถึง "โค้งที่เกิดขึ้นเมื่อมีฝน" อย่างไรก็ตาม เราต่างก็ทราบดีว่า เราจะสามารถเห็นรุ้งกินน้ำได้ ไม่ใช่เนื่องจากฝน (ละอองน้ำ) อย่างเดียว แต่ต้องมี แสงอาทิตย์ (จากดวงอาทิตย์) ด้วย
รุ้งกินน้ำมีกี่สี?
ในปี ค.ศ.1672 นิวตันตั้งให้รุ้งกินน้ำมี 5 สี คือ แดง, เหลือง, เขียว, น้ำเงิน และ ม่วง ต่อมา เขาจึงเพิ่มสี ส้ม และ คราม เข้าไป จนครบ 7 สี ดังเช่นปัจจุบัน
น้องๆ จะมองหารุ้งกินน้ำได้ที่ไหน และเมื่อใด ?
  • หลังฝนตก และมีแดดออก
  • ถ้าเกิดรุ้งกินน้ำบนท้องฟ้า รุ้งกินน้ำจะอยู่ด้านตรงกันข้ามกับดวงอาทิตย์ และอยู่ด้านเดียวกับละอองน้ำ (ละอองฝน) ดังนั้น เวลาจะมองหารุ้งกินน้ำ ให้หันหลังให้ดวงอาทิตย์เสมอ
กระบวนการเกิดรุ้งกินน้ำในธรรมชาติ เป็นอย่างนี้นะครับ
  • แสงเดินทางมาถึงหยดน้ำ
  • แสงเกิดการหักเห เนื่องจากมีการเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางที่มีความหนาแน่นต่างกัน (จากอากาศสู่น้ำ) โดยแสงสีน้ำเงินจะหักเหมากกว่าแสงสีแดง
  • แสงเกิดการสะท้อนภายในหยดน้ำ เนื่องจากผิวภายในของหยดน้ำ มีความโค้งและผิวคล้ายกระจก
  • แสงเกิดการหักเห จากภายในหยดน้ำผ่านสู่อากาศอีกครั้ง
เมื่อดูโดยรวม มุมสะท้อนของแสงสีแดง คือ 42 องศา ในขณะที่มุมสะท้อนของ แสงสีน้ำเงิน คือ 40 องศา
การสะท้อนในหยดน้ำ - reflection in the raindrop
ภาพแสดงการเกิดรุ้ง จากการหักเห และการสะท้อนของลำแสง ในหยดน้ำ

สีต่างๆ ของรุ้งกินน้ำ เทียบกับสีที่ใช้บน web เผื่อจะเป็นประโยชน์สำหรับน้องๆ บางคนครับ
หมายเหตุ : ข้อมูลจาก HTML Color Names ของ www.w3schools.com
Red#FF0000แดง255,0,0
Orange#FFA500แสด(ส้ม)255,165,0
Yellow#FFFF00เหลือง255,255,0
Green#008000เขียว0,128,0
Blue#0000FFน้ำเงิน0,0,255
Indigo#4B0082คราม75,0,130
Violet#EE82EEม่วง238,130,238
รุ้งกินน้ิ
รุ้งปฐมภูมิ และรุ้งทุติยภูมิ (จาง) ที่น้ำพุร้อนเวียงป่าเป้า
ต.แม่เจดีย์ใหม่ ถ.สายเชียงราย-เชียงใหม่ กม.ที่ 64-65 (19° 50' 54" N, 100° 9' 12" E)