by www.zalim-code.com

วันเสาร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2556

                                                            สรุปการวิจัย

                       เรื่อง “การวิจัยเพื่อพัฒนาสังคมไทย”

 
               สำหรับกิจกรรมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ครูจาเป็นต้องใช้วิธีการต่าง ๆ ที่จะช่วยเร้าความสนใจของนักเรียนเป็นต้นว่า การใช้สื่อในการเรียนการสอน รวมทั้งการใช้เทคนิคการสอนต่าง ๆ ทั้งนี้ครูจะต้องเลือกใช้สื่อให้เหมาะสมกับเนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร์ที่จะสอนด้วย (ภพ เลาหไพบูลย์, 2537) ของเล่นเป็นอุปกรณ์อีกชนิดหนึ่งที่สามารถใช้เป็นสื่อประกอบการเรียนการสอนหรือใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยเฉพาะของเล่นที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้และเข้าใจหลักการทางวิทยาศาสตร์ สามารถทาให้นักเรียนเกิดการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขึ้นได้ ดังที่ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2534) ได้ระบุว่า รูปแบบหนึ่งของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่น่าสนใจ คือการให้นักเรียนสนุกสนานกับการเล่น ซึ่งนอกจากนักเรียนได้ลงมือทาแล้ว นักเรียนยังได้ฝึกพัฒนาการคิดเป็นขั้นตอน มีความใฝ่รู้ มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และมีเจตคติทางวิทยาศาสตร์

                        จากที่กล่าวมาแสดงให้เห็นว่าของเล่นเชิงวิทยาศาสตร์เป็นสื่อที่นามาใช้ประกอบการจัดการเรียนรู้ได้ เนื่องจากสามารถช่วยในการพัฒนากระบวนการคิดของนักเรียน และการเรียนปนเล่นจะส่งผลดีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จากหลักการและเหตุผลข้างต้น ผู้วิจัยมีความสนใจที่จะศึกษาวิจัยเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับของเล่นเชิงวิทยาศาสตร์
ผู้วิจัยคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผลงานวิจัยครั้งนี้จะส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ดีขึ้น และเกิดความรู้ ความเข้าใจ สามารถนาหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่ได้จากการประดิษฐ์ของเล่นเชิงวิทยาศาสตร์ ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจาวันได้ อีกทั้งยังเป็นแนวทางในการพัฒนาการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์และศาสตร์อื่นๆ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับของเล่นเชิงวิทยาศาสตร์
2. เพื่อศึกษาจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับของเล่นเชิงวิทยาศาสตร์
3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับของเล่นเชิงวิทยาศาสตร์
     วิธีการวิจัย
ผู้วิจัยดำเนินการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูลตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. เสนอต่อผู้บริหารโรงเรียนบ้านคลองแรด ตาบลคลองพน อาเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ เพื่อขอความร่วมมือในการทดลองสอนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555
2. ทดสอบนักเรียนก่อนเรียน (Pretest) โดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่องแรงในชีวิตประจาวัน จานวน 55 ข้อ เวลา 1 ชั่วโมง
3. ผู้วิจัยนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฎจักรการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับของเล่น เชิง
การ          ประชุมหาดใหญ่วิชาการ ครั้งที่ 4 344 เรื่อง “การวิจัยเพื่อพัฒนาสังคมไทย”

วิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงในชีวิตประจาวัน ที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วไปดาเนินการสอนด้วยตนเองกับกลุ่มตัวอย่าง โดยจัดกิจกรรมวันละ 1 แผนการจัดการเรียนรู้ เป็นเวลา 3 ชั่วโมง ระยะเวลา 5 วัน รวม 15 ชั่วโมง ระหว่างวันที่ 2 มกราคม 2556 ถึง วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2556
4. เมื่อเสร็จสิ้นการจัดการเรียนรู้ ผู้วิจัยทาการทดสอบนักเรียนหลังเรียน (Post - test) โดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่องแรงในชีวิตประจาวัน จานวน 55 ข้อ เวลา 1 ชั่วโมง แบบประเมินคุณลักษณะทางจิตวิทยาศาสตร์ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อวิธีการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้7 ขั้น ร่วมกับของเล่นเชิงวิทยาศาสตร์ เวลา 10 นาที รวมใช้ระยะเวลาในการดาเนินการวิจัย 17 ชั่วโมง
5. ตรวจผลการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ แบบประเมินคุณลักษณะทางจิตวิทยาศาสตร์ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และนาคะแนนที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติเพื่อทดสอบสมมติฐานต่อไป
ผลการวิจัย 1. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้นร่วมกับของเล่น เชิงวิทยาศาสตร์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้นร่วมกับของเล่นเชิงวิทยาศาสตร์ มีจิตวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับมาก โดยมีคะแนนเฉลี่ยรวมทุกด้านเท่ากับ 4.01
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านคลองแรด มีความพึงพอใจต่อวิธีการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้นร่วมกับของเล่นเชิงวิทยาศาสตร์ อยู่ในระดับพึงพอใจมาก โดยมีคะแนนเฉลี่ยรวมทุกด้านเท่ากับ 4.24


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น