by www.zalim-code.com

วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 3


    อาจารย์ได้สรุปเนื้อหาจากที่เรียนในสัปดาห์ก่อนหน้านี้



 
คำนิยามต่างๆ ที่เกี่ยวกับรุ้ง
ก่อนที่เราจะมาทำความรู้จักกับรุ้งกันให้ดีขึ้น ขออนุญาตพูดเกี่ยวกับความหมายของคำต่างๆ ที่เกี่ยวกับรุ้ง กันก่อนนะครับ
รุ้ง - rainbow
รุ้ง
คำนาม : แสงที่ปรากฏบนท้องฟ้าเป็นแถบโค้งสีต่างๆ 7 สี คือ สีม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง ส้ม แดง
คำวิเศษณ์ : สีเช่นนั้นที่ปรากฏในเพชร
รุ้งกินน้ำ
ยังเปิดไม่เจอครับ แต่น่าจะเป็นคำนามที่แปลเหมือนคำว่ารุ้ง
รุ้งพราย
คำวิเศษณ์ : สีรุ้งที่กรอกอยู่พราวพรายในเพชร หรือเปลือกหอยบางชนิด เช่น หอยมุก
ทรงกลด
คำวิเศษณ์ : มีแสงสีรุ้งเป็นวงกลมล้อมรอบดวงอาทิตย์ หรือดวงจันทร์ คล้ายกลด
Rainbow
คือ ส่วนโค้งของแสงสีที่ปรากฏบนท้องฟ้า เกิดจากการหักเหของแสงอาทิตย์ในละอองน้ำในอากาศ (หลังฝนตก)
Corona
the set of colored rings around the sun or moon created when it shines through a thin cloud
คือ วงแหวน (ชั้นเดียว หรือ หลายชั้น) รอบดวงอาทิตย์ หรือดวงจันทร์ เกิดขึ้นเมื่อแสงส่องผ่านเมฆบาง
Halo
เรียกชื่ออื่นว่า ออรา (aura)
a circular band of colored light, visible around the sun or moon, caused by reflection and refraction of light by ice crystals in the atmosphere
คือ วงกลมแสงสีที่เกิดรอบดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ เกิดจากการสะท้อนและหักเหของแสงภายในเกล็ดน้ำแข็งที่อยู่ในชั้นบรรยากาศ
วิธีดูกลด(ฮาโล)ให้ชัดเจน น้องๆ ควรปิดกั้นดวงอาทิตย์ด้วยมือ หรือวัตถุที่หาได้ใกล้มือ เมื่อน้องๆ ยืดแขนออกจนสุดแล้วกางมือออก ใช้หัวแม่มือบังดวงอาทิตย์ นิ้วที่เหลือจะกางออกเป็นมุมประมาณ 20 ถึง 25 องศา วงของกลด(ฮาโล) จะทำมุมประมาณ 22 องศา จากจุดศูนย์กลางครับ
เราอาจกล่าวได้ว่า "รุ้งกินน้ำเป็นการแสดงแสงสีของธรรมชาติที่น่าตื่นตาตื่นใจยิ่ง" คำว่า "รุ้งกินน้ำ" ในภาษาอังกฤษ เรียกว่า "Rainbow" ซึ่งมาจากคำย่อย 2 คำ คือ Rain+bow ซึ่งสื่อถึง "โค้งที่เกิดขึ้นเมื่อมีฝน" อย่างไรก็ตาม เราต่างก็ทราบดีว่า เราจะสามารถเห็นรุ้งกินน้ำได้ ไม่ใช่เนื่องจากฝน (ละอองน้ำ) อย่างเดียว แต่ต้องมี แสงอาทิตย์ (จากดวงอาทิตย์) ด้วย
รุ้งกินน้ำมีกี่สี?
ในปี ค.ศ.1672 นิวตันตั้งให้รุ้งกินน้ำมี 5 สี คือ แดง, เหลือง, เขียว, น้ำเงิน และ ม่วง ต่อมา เขาจึงเพิ่มสี ส้ม และ คราม เข้าไป จนครบ 7 สี ดังเช่นปัจจุบัน
น้องๆ จะมองหารุ้งกินน้ำได้ที่ไหน และเมื่อใด ?
  • หลังฝนตก และมีแดดออก
  • ถ้าเกิดรุ้งกินน้ำบนท้องฟ้า รุ้งกินน้ำจะอยู่ด้านตรงกันข้ามกับดวงอาทิตย์ และอยู่ด้านเดียวกับละอองน้ำ (ละอองฝน) ดังนั้น เวลาจะมองหารุ้งกินน้ำ ให้หันหลังให้ดวงอาทิตย์เสมอ
กระบวนการเกิดรุ้งกินน้ำในธรรมชาติ เป็นอย่างนี้นะครับ
  • แสงเดินทางมาถึงหยดน้ำ
  • แสงเกิดการหักเห เนื่องจากมีการเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางที่มีความหนาแน่นต่างกัน (จากอากาศสู่น้ำ) โดยแสงสีน้ำเงินจะหักเหมากกว่าแสงสีแดง
  • แสงเกิดการสะท้อนภายในหยดน้ำ เนื่องจากผิวภายในของหยดน้ำ มีความโค้งและผิวคล้ายกระจก
  • แสงเกิดการหักเห จากภายในหยดน้ำผ่านสู่อากาศอีกครั้ง
เมื่อดูโดยรวม มุมสะท้อนของแสงสีแดง คือ 42 องศา ในขณะที่มุมสะท้อนของ แสงสีน้ำเงิน คือ 40 องศา
การสะท้อนในหยดน้ำ - reflection in the raindrop
ภาพแสดงการเกิดรุ้ง จากการหักเห และการสะท้อนของลำแสง ในหยดน้ำ

สีต่างๆ ของรุ้งกินน้ำ เทียบกับสีที่ใช้บน web เผื่อจะเป็นประโยชน์สำหรับน้องๆ บางคนครับ
หมายเหตุ : ข้อมูลจาก HTML Color Names ของ www.w3schools.com
Red#FF0000แดง255,0,0
Orange#FFA500แสด(ส้ม)255,165,0
Yellow#FFFF00เหลือง255,255,0
Green#008000เขียว0,128,0
Blue#0000FFน้ำเงิน0,0,255
Indigo#4B0082คราม75,0,130
Violet#EE82EEม่วง238,130,238
รุ้งกินน้ิ
รุ้งปฐมภูมิ และรุ้งทุติยภูมิ (จาง) ที่น้ำพุร้อนเวียงป่าเป้า
ต.แม่เจดีย์ใหม่ ถ.สายเชียงราย-เชียงใหม่ กม.ที่ 64-65 (19° 50' 54" N, 100° 9' 12" E)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น