by www.zalim-code.com

วันเสาร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2556

                                                            สรุปการวิจัย

                       เรื่อง “การวิจัยเพื่อพัฒนาสังคมไทย”

 
               สำหรับกิจกรรมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ครูจาเป็นต้องใช้วิธีการต่าง ๆ ที่จะช่วยเร้าความสนใจของนักเรียนเป็นต้นว่า การใช้สื่อในการเรียนการสอน รวมทั้งการใช้เทคนิคการสอนต่าง ๆ ทั้งนี้ครูจะต้องเลือกใช้สื่อให้เหมาะสมกับเนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร์ที่จะสอนด้วย (ภพ เลาหไพบูลย์, 2537) ของเล่นเป็นอุปกรณ์อีกชนิดหนึ่งที่สามารถใช้เป็นสื่อประกอบการเรียนการสอนหรือใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยเฉพาะของเล่นที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้และเข้าใจหลักการทางวิทยาศาสตร์ สามารถทาให้นักเรียนเกิดการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขึ้นได้ ดังที่ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2534) ได้ระบุว่า รูปแบบหนึ่งของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่น่าสนใจ คือการให้นักเรียนสนุกสนานกับการเล่น ซึ่งนอกจากนักเรียนได้ลงมือทาแล้ว นักเรียนยังได้ฝึกพัฒนาการคิดเป็นขั้นตอน มีความใฝ่รู้ มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และมีเจตคติทางวิทยาศาสตร์

                        จากที่กล่าวมาแสดงให้เห็นว่าของเล่นเชิงวิทยาศาสตร์เป็นสื่อที่นามาใช้ประกอบการจัดการเรียนรู้ได้ เนื่องจากสามารถช่วยในการพัฒนากระบวนการคิดของนักเรียน และการเรียนปนเล่นจะส่งผลดีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จากหลักการและเหตุผลข้างต้น ผู้วิจัยมีความสนใจที่จะศึกษาวิจัยเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับของเล่นเชิงวิทยาศาสตร์
ผู้วิจัยคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผลงานวิจัยครั้งนี้จะส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ดีขึ้น และเกิดความรู้ ความเข้าใจ สามารถนาหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่ได้จากการประดิษฐ์ของเล่นเชิงวิทยาศาสตร์ ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจาวันได้ อีกทั้งยังเป็นแนวทางในการพัฒนาการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์และศาสตร์อื่นๆ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับของเล่นเชิงวิทยาศาสตร์
2. เพื่อศึกษาจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับของเล่นเชิงวิทยาศาสตร์
3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับของเล่นเชิงวิทยาศาสตร์
     วิธีการวิจัย
ผู้วิจัยดำเนินการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูลตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. เสนอต่อผู้บริหารโรงเรียนบ้านคลองแรด ตาบลคลองพน อาเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ เพื่อขอความร่วมมือในการทดลองสอนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555
2. ทดสอบนักเรียนก่อนเรียน (Pretest) โดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่องแรงในชีวิตประจาวัน จานวน 55 ข้อ เวลา 1 ชั่วโมง
3. ผู้วิจัยนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฎจักรการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับของเล่น เชิง
การ          ประชุมหาดใหญ่วิชาการ ครั้งที่ 4 344 เรื่อง “การวิจัยเพื่อพัฒนาสังคมไทย”

วิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงในชีวิตประจาวัน ที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วไปดาเนินการสอนด้วยตนเองกับกลุ่มตัวอย่าง โดยจัดกิจกรรมวันละ 1 แผนการจัดการเรียนรู้ เป็นเวลา 3 ชั่วโมง ระยะเวลา 5 วัน รวม 15 ชั่วโมง ระหว่างวันที่ 2 มกราคม 2556 ถึง วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2556
4. เมื่อเสร็จสิ้นการจัดการเรียนรู้ ผู้วิจัยทาการทดสอบนักเรียนหลังเรียน (Post - test) โดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่องแรงในชีวิตประจาวัน จานวน 55 ข้อ เวลา 1 ชั่วโมง แบบประเมินคุณลักษณะทางจิตวิทยาศาสตร์ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อวิธีการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้7 ขั้น ร่วมกับของเล่นเชิงวิทยาศาสตร์ เวลา 10 นาที รวมใช้ระยะเวลาในการดาเนินการวิจัย 17 ชั่วโมง
5. ตรวจผลการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ แบบประเมินคุณลักษณะทางจิตวิทยาศาสตร์ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และนาคะแนนที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติเพื่อทดสอบสมมติฐานต่อไป
ผลการวิจัย 1. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้นร่วมกับของเล่น เชิงวิทยาศาสตร์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้นร่วมกับของเล่นเชิงวิทยาศาสตร์ มีจิตวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับมาก โดยมีคะแนนเฉลี่ยรวมทุกด้านเท่ากับ 4.01
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านคลองแรด มีความพึงพอใจต่อวิธีการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้นร่วมกับของเล่นเชิงวิทยาศาสตร์ อยู่ในระดับพึงพอใจมาก โดยมีคะแนนเฉลี่ยรวมทุกด้านเท่ากับ 4.24


 

วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2556


ครั้งที่ 18
วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2556
Sunday 29 September 2013

วันนี้มีเรียนชดเชย และมีงานที่ต้องส่ง  ดังนี้
 1. ทำการทดลองให้อาจารย์ดู
 2. ส่งสิ่งประดิษฐิ์ 2 ชิ้น คือ   ของเล่นวิทยาศาสตร์และมุมวิทยาศาสตร์
 3. ส่งใบงานทั้ง การทดลอง  ของเล่นวิทยาศาสตร์ และมุมวิทยาศาสตร์




 ครั้งที่ 17
วันพุธที่  25 กันยายน พ.ศ. 2553
 Wednesday 17 September 2013
วันนี้อาจารย์ได้ให้สรุปองค์ความรู้ที่ได้มาในวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยตลอดทั้งเทอมผ่านการทำ Mindmapping เขียนลงในกระดาษระบายสีให้สวยงาม มีดังนี้



สรุปองค์ความรู้ในวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ความหมายของวิทยาศาสตร์
     - การศึกษาธรรมชาติรอบตัว
     - การศึกษาอย่างมีระบบ
     - การศึกษาอย่างมีเหตุผล
ความสำคัญของวิทยาศาสตร์
     - มีผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน
     - ช่วยพัฒนาความคิดอย่างมีเหตุผล
     - ทำให้เราค้นพบความเปลี่ยนแปลง
     - พัฒนาปรับปรุงสิ่งรอบตัว
พัฒนาการทางสติปัญญา 
     - มีความสามรถในการคิด
     - มีการปฎิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
     - ขั้นพัฒนาการทางวิทยาศตร์
การเรียนรู้วิทยาศาสตร์
     -เกิดจากที่เส้นใยสมองเชื่อมต่อกัน
     - อุปสรรคของการเรียน
     - ความหมายของการเรียนรู้
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
     - กระบวนการเบื่องต้น
     - วิธีการจัดประสบการณ์
     - กระบวนการผสม
     - วิธีการใช้สื่อ
 
 

ครั้งที่ 16
วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2556
Wednesday 16 September 2013

ในวันนี้อาจารย์นัดให้ทำอาหาร คือ ไข่ตุ๋นทรงเครื่อง ให้มีตัวแทนออกมาเป็นครูสอน และมีนักศึกษาที่ทำเป็นออกมาทำและแสดงเป็นนักเรียน ซึ่งไข่ตุ๋นที่ทำมีรสชาตอร่อย ไม่แข็งจนเกินไป และมีขั้นตอนและวิธีทำดังนี้

ส่วนประกอบและเครื่องปรุง1. ไข่ไก่ 2 ฟอง
2. เนื้อกุ้ง (แกะเปลือกออกทั้งหมด)
3. ต้นหอมซอย
4. แครอท บล็อคโคลี่ (ผักสามารถเปลี่ยนได้ตามความต้องการค่ะ)
5. น้ำเปล่า
6. สาหร่าย
7. ปลาแห้ง
8. ซีอิ้วขาว
ขั้นตอนวิธีทำไข่ตุ๋น
1. เริ่มอย่างแรกด้วยการทำน้ำซุปก่อนค่ะ นำน้ำเปล่า ปลาแห้ง และสาหร่ายคนบุใส่หม้อตั้งไฟ ต้มให้ได้ที่ระวังอย่าให้เกิดฟอง จากนั้นกรองด้วยกระชอนตาถี่ก็จะได้น้ำซุปปลาใสพักไว้ให้เย็น

หมายเหตุ : ถ้าไม่สะดวกในการหาส่วนประกอบสามารถใช้ผงซุปสำเร็จปรุงเป็นน้ำซุปได้ค่ะ
2. เติมไข่ไก่  ซีอิ้วขาว (เค็มมากหรือน้อยตามใจชอบค่ะ) จากนั้นค่อยๆเติมน้ำซุปปลาลงไปในชามไข่ระหว่างนี้ก็ตีไข่ไก่ไปด้วยค่ะ
3. กรองไข่ด้วยกระชอนตาถี่ จะได้เนื้อไข่เนียนๆค่ะ
4. ใส่น้ำตั้งซึ่งด้วยไฟแรงจนน้ำเดือดแล้วค่อยวางถ้วยไข่ลงไปนึ่ง นึ่ง 10 นาที ใช้ไฟอ่อน
5. เติมแครอท บล็อคโคลี่ (หรือผักต่างๆตามชอบ) ,กุ้ง บนหน้าไข่ตุ๋น ปิดฝานึ่งต่ออีก 5 นาที
6. โรยหน้าด้วยต้นหอมซอยเป็นอันเสร็จเรียบร้อย พร้อมเสริฟค่ะ
ข้อแนะนำ : เราสามารถใส่ส่วนประกอบไม่ว่าจะเป็นกุ้งสับ หมูสับ ผักต่างๆ ลงไปด้านล่าง แล้วค่อยเทไข่ที่เตรียมไว้ตามลงไป จากนั้นทำการนึ่งได้ตามปกติ จะได้ไข่ตุ๋นทรงเครื่องอีกหนึ่งเมนูง่ายๆทำได้เองในบ้านค่ะ





วันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2556


ครั้งที่ 15
วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556
Sunday 15 September 2013

วันนี้ได้เรียนชดเชยและอาจารย์ได้ให้แต่ละกลุ่มเขียนแผน เขียนขั้นตอนการทำอาหารที่เลือก เขียนความสำคัญของอาหาร ให้คิดว่าแต่กลุ่มจะทำอาหารอะไร มีวัสดุอะไรบ้าง ซึ่งกลุ่มของดิฉันเลือกทำอาห าร คือ ไข่เจียว และมีการเขียนแผนที่จะสอน แต่ให้เขียนใส่กระดาษ 4 แผ่น ให้แต่ละกลุ่มออกไปพูด จากนั้นอาจารย์ก็ให้เลือกว่าจะให้ทำอาหารอะไรในวันพุธ ทุกคนเลือกทำไข่ตุ๋น ครั้งหน้าในวันพุธจึงทำไข่ตุ๋นและได้ให้ตัวแทนซ้ือของมา และเก็บเงินซ้ือวัสดุอุปกรณ์ที่จะทำ
















ครั้งที่ 14           

วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556
Wednesday 11 september 2013





***ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ติดธุระ ได้สั่งงานไว้ในทำ คือบล๊อกและรูปเล่มโครงงานที่ไปศึกษาในโรงเรียนทั้ง 2 แห่ง *****

ครั้งที่ 13
วันพุธที่  4 กันยายน พ.ศ. 2556
Wednesday 4 September 2013



*****ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดธุระ และได้สั่งงานให้ทำ คือรวบรวมผลงานที่ไปศึกษาดูงานมาจากโรงเรียนทั้ง  2 แห่ง****